วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

รายงานการประเมินตนเอง (SAR) สาขางานเทคนิคพื้นฐาน ปีการศึกษา 2552

สรุปผลการประเมินคุณภาพ และแนวทางการพัฒนาคุณภาพ

1. จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา ของสาขา ......เทคนิคพื้นฐาน.........
                1.1 ผลการดำเนินงานพบจุดเด่นดังต่อไปนี้
1.1.1                   ตัวบ่งชี้ที่ 13   ร้อยละหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีคุณภาพ
                           1.1.2      ตัวบ่งชี้ที่ 14   ร้อยละของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
                           1.1.3      ตัวบ่งชี้ที่ 15   ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนต่อคุณภาพการสอนของผู้สอน
1.1.4      ตัวบ่งชี้ที่ 21   ระดับคุณภาพการจัดระบบความปลอดภัยของสภาพแวดล้อม           
         สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสาขาวิชา/สาขางาน
1.1.5      ตัวบ่งชี้ที่ 22    ร้อยละของบุคลากรภายในสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาตาม
          หน้าที่ที่รับผิดชอบ
1.1.6      ตัวบ่งชี้ที่  33   จำนวนและประสิทธิผลของกิจกรรม/โครงการที่ให้บริการวิชาชีพและ
          ฝึกทักษะวิชาชีพ
                                1.1.7      ตัวบ่งชี้ที่  39   ระดับคุณภาพการบริหารงานของผู้บริหารที่สอดคล้องกับ
 แผนยุทธศาสตร์ และการมีส่วนร่วมของประชาคมอาชีวศึกษา              
 ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
                           1.1.8      ตัวบ่งชี้ที่ 40    ร้อยละของบุคลากรในสาขาวิชาที่สามารถปฏิบัติตามจรรยาบรรณ 
                                                                มาตรฐานวิชาชีพ
                                1.1.9      ตัวบ่งชี้ที่  42   ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิดการพัฒนา
         สถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                                1.1.10    ตัวบ่งชี้ที่  43   ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน

                1.2 ผลการดำเนินงานพบจุดที่ควรพัฒนาดังต่อไปนี้
1.2.1                   ตัวบ่งชี้ที่   16   ร้อยละของงบประมาณที่สถานศึกษาจัดซื้อวัสดุฝึก อุปกรณ์ สำหรับ
                           การจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
                            1.2.2     ตัวบ่งชี้ที่  18   ระดับความเหมาะสมในการจัดอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน              
                                                                 ห้องปฏิบัติการ  โรงฝึกงาน พื้นที่ฝึกปฏิบัติงานเหมาะสมกับวิชาที่เรียน
                                                                 มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเกิดประโยชน์สูงสุด
1.2.3                   ตัวบ่งชี้ที่  20   ระดับความเหมาะสมในการจัดให้มีครุภัณฑ์ และอุปกรณ์
1.2.4                   ตัวบ่งชี้ที่  23   จำนวนครั้งหรือปริมาณในการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ ทั้ง         
                                                                  ภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่าง 
                                                                  มีประสิทธิภาพ

                             1.2.5   ตัวบ่งชี้ที่  25    จำนวนคน-ชั่วโมง ของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือภูมิปัญญา           
                                                                 ท้องถิ่น ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน
1.2.6    ตัวบ่งชี้ที่  35   จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงาน
                             1.2.7    ตัวบ่งชี้ที่  36   จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงานที่มีประโยชน์ทาง                
                                                                วิชาชีพ/หรือได้รับเผยแพร่ระดับชาติ
                             1.2.8    ตัวบ่งชี้ที่ 37    ร้อยละของงบประมาณที่ใช้ในการสร้าง พัฒนา และเผยแพร่นวัตกรรม                       
                                                                สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงานต่องบดำเนินการ
                             1.2.9    ตัวบ่งชี้ที่ 38    จำนวนครั้งและช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรม              
                                                                สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงาน

2. นวัตกรรมที่เกิดจากการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สาขา ......เทคนิคพื้นฐาน................

ที่
ชื่อนวัตกรรม
ผู้คิดค้น
1.
-
(ชื่อ ครู หรือ ผู้เรียน)
2.
-
.................................................
3.
-
...............................................
4.
-



3. ทิศทางการพัฒนาคุณภาพแผนกเทคนิคพื้นฐาน
แผนกเทคนิคพื้นฐาน  ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสาขา โดยได้ระบุไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามพันธกิจ ซึ่งมีโครงการและกิจกรรม พอสรุปได้ดังนี้
1.             พันธกิจที่ 1 ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสนองตอบแรงงาน ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม
ประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
1.1        โครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรของสาขาวิชา
         เทคนิคพื้นฐาน  ตามเกณฑ์ที่กำหนด
  1.2    กิจกรรมส่งเสริมความรู้ และทักษะในการใช้เครื่องมือช่างต่อการปฏิบัติงานเทคนิคพื้นฐาน
  1.3    กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม มีความรักในอาชีพ และเป็น
            สมาชิกที่ดีของสังคม
               

2. พันธกิจที่ 2 ฝึกอบรมและพัฒนาความรู้แก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
    2.1   โครงการสนับสนุนส่งเสริมบุคลากรให้มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
    2.2   โครงการสนับสนุนส่งเสริมบุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง
                        2.3    โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน 


                3. พันธกิจที่ 3 ฝึกอบรมความรู้วิชาชีพ และบริการชุมชนในสังคมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
     3.1   โครงการจัดส่งนักเรียน นักศึกษาเข้าศึกษาดูงานประเภทงานเครื่องมือกลและงานเชื่อมโลหะ
                         3.2    กิจกรรมปรับปรุงแผนงาน/โครงการในการบริการทางวิชาชีพในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น
                                  ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น

                4. พันธกิจที่ 4 แผนกเทคนิคพื้นฐาน  จะต้องผ่านการประเมินคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอก ประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรม ดังนี้

                         4.1   โครงการพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาสาขาเทคนิคพื้นฐาน
                         4.2     กิจกรรมการให้ความรู้ ชี้แจง ทำความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพแก่นักเรียน นักศึกษา
                                   ปวช.1 สาขาวิชายานยนต์  ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเล็กทรอนิกส์


               
4. ข้อเสนอแนะทั่วไป
                                            สาขาวิชาเทคนิคพื้นฐาน นับว่าเป็นพื้นฐานในการเรียนของช่างอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ ปัจจุบัน   นักเรียน นักศึกษาที่ได้เข้ามาเรียนในแผนกวิชามีจำนวนมากขึ้น   ในการปฏิบัติงานของนักเรียนนักศึกษา
ทางสาขาวิชาเทคนิคพื้นฐาน ควรมีวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาเพิ่มเติมให้เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงานของ นักเรียนนักศึกษา
ในด้านงานเครื่องมือกลเบื้องต้น  เช่น  เครื่องกลึง  เครื่องกัด  เครื่องไส  เป็นต้น




วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

เครื่องขัดดอกหญ้าไม้กวาด

                    แบบเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่
ปีการศึกษา  2553
ประเภทที่ 2
สิ่งประดิษฐ์เพื่อการประกอบอาชีพ




เครื่องขัดดอกหญ้า




วิทยาลัยการอาชีพลอง      อาชีวศึกษาจังหวัดแพร่
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ


แบบเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่    สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่  ประจำปีการศึกษา 2553

1.  ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์     เครื่องขัดดอกหญ้า

2.  ประเภทผลงาน       ประเภทที่ 2  สิ่งประดิษฐ์เพื่อการประกอบอาชีพ

3.  วิทยาลัยการอาชีพลอง    อาชีวศึกษาจังหวัดแพร่

4.  ชื่อผู้ประดิษฐ์
                1.  นายเจนณรงค์                ม่วงดี      แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง         ชั้น ปวส. 1  (หัวหน้า)
                2.  นายอนันต์                      วงศ์ยศ    แผนกวิชาช่างยนต์              ชั้น ปวช. 1
                3.  นายธนพนธ์                   อินสม    แผนกวิชาช่างยนต์              ชั้น  ปวช. 1
                4 .  นายประสบชัย           โพธิจันทร์  แผนกวิชาช่างยนต์     ชั้น  ปวช. 1

5.  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
                1.  นายศิริชัย       นาระกันทา           ตำแหน่ง  ครู ค.ศ. 1        แผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน (หัวหน้า)
                     โทรศัพท์   089-5010254
                2.  นายบงกช      นาทธีรนันท์         ตำแหน่ง  ครู ค.ศ. 2        แผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน
                     โทรศัพท์   084-8752262
                3.  นายวสันต์       ปินสอน                 ตำแหน่ง  ครูพิเศษสอน  แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง
                     โทรศัพท์   081-9517866
 6.              บทคัดย่อ
 เครื่องขัดดอกหญ้า      เป็นเครื่องทุ่นแรงที่ใช้ในการทำ    ไม้กวาดดอกหญ้าเป็นอุตสาหกรรมใน
ครอบครัว  สามารถนำวัตถุดิบที่ถูกทิ้งตามธรรมชาติ  นำมาใช้เพิ่มคุณค่า และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ  ราษฎรตามท้องถิ่น  จากอาชีพการทำไร่นา  ซึ่งเป็นอาชีพหลักซึ่งคณะผู้จัดทำได้คิดค้น  เครื่องขัดดอกหญ้าขึ้นเพื่อช่วยลดเวลาและแรงงานในการนำเกสรดอกหญ้าออกจากช่อดอกหญ้า  เพื่อเพิ่มผลผลิตในการเตรียมดอกหญ้าก่อนนำไปทำไม้กวาด  ประหยัดเวลาแรงงานในการทำไม้กวาดดอกหญ้า
 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการใช้เครื่องขัดดอกหญ้า เพื่อใช้ในการผลิตไม้กวาดดอกหญ้า โดยศึกษาจากความพึงพอใจของผู้ใช้ ซึ่งประกอบด้วย นักศึกษา  ประชาชนผู้ประกอบอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้า
                 ผลการวิจัยพบว่า  การใช้เครื่องเครื่องขัดดอกหญ้า ดังกล่าวมีความเหมาะสม สามารถทำงานได้ดี  และมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ทำการประเมินผลการใช้จากกลุ่มนักศึกษา ประชาชนผู้ประกอบอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานในระดับมาก  สามารถใช้ประโยชน์เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มผลผลิตและประหยัดเวลาในการทำไม้กวาดดอกหญ้า และในการสร้างงานให้กับผู้ที่ไม่มีงานทำได้ต่อไป


7.              ข้อมูลทั่วไป
7.1        ลักษณะทั่วไป
               ( / )    เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่
(   )    เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขใหม่

8.              ความเป็นมาของสิ่งประดิษฐ์
ไม้กวาดดอกหญ้า เป็นของจำเป็นสำหรับประชาชนทุกชั้นในการทำความสะอาดบ้านเรือน 
ตลอดจนบริเวณที่อยู่อาศัย  จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี  การสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นทุกปีปริมาณการใช้ไม้กวาดเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวัตถุดิบในพื้นบ้านมาทำไม้กวาด ได้แก่  ก้านมะพร้าว  กิ่งไผ่  ต้นหญ้าบางชนิด   กาบมะพร้าว   เส้นใบตาล  และดอกหญ้าเป็นต้นในจำนวนวัตถุดิบที่ใช้ทำไม้กวาดชนิดต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าต้นดอกหญ้า  มีการนำมาทำไม้กวาดมากที่สุด เพราะดอกหญ้ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นและเหนียว  สามารถนำมาทำไม้กวาด  กวาดพื้นบ้านเรียบได้สะอาดกว่าวัสดุอื่นๆ  เครื่องขัดดอกหญ้า  เป็นเครื่องทุ่นแรงที่ใช้ในการทำไม้กวาดดอกหญ้าเพื่อช่วยลดเวลาและแรงงานในการนำดอกหญ้าออกจากช่อดอก  เพื่อเพิ่มผลผลิตในการเตรียมดอกหญ้าก่อนนำไปทำไม้กวาด  ทั้งนี้เครื่องขัดดอกหญ้าได้ละเอียดกว่าแรงงานคน




9.       ทฤษฎี/หลักวิชาการ/งานวิจัย  ที่นำมาใช้อ้างอิงเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์
ต้นไม้กวาดที่ชื่อเรียกทางภาคเหนือว่า  ต้นก๋ง   เป็นต้นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายต้นบง 
เป็นพื้นลุ่มแต่มีคุณสมบัติพิเศษ  ที่ก้านดอกมีลักษณะเหนียวและทนทานกว่าดอกหญ้าชนิดอื่น ๆ ซึ่งมักขึ้นเองตามธรรมชาติ  ตามท้องที่ที่มีเนินเขาเตี้ย ๆ พอฤดูฝนเมล็ดดอกหญ้าที่ร่วงหล่นในช่วงฤดูร้อน  ก็จะงอกงามขึ้นเอง  ประมาณเดือนพฤศจิกายน เดือน มกราคม   ดอกไม้กวาดหรือดอกก๋ง  จะแห้งใช้งานได้  แต่ดอกหญ้าทางจังหวัดภาคใต้  จะมีระยะการแก่ไม่ตรงกับทางภาคเหนือ   ทั้งนี้เกี่ยวกับฤดูของแต่ละท้องถิ่นต่างกัน
ลักษณะของดอกหญ้าที่จะตัดใช้งานได้ต้องมีสีเขียวอมเหลือง   หรือไม่อ่อนหรือแก่เกินไป   การ
ตัดดอกหญ้าอ่อนเกินไปจะทำให้ช่อดอกอ่อนและเกสรหลุดยาก  การทำเป็นไม้กวาดจะมีคุณภาพต่อ  การตัดดอกหญ้าแก่เกินไปจะทำให้ต้นดอกหญ้าเปราะง่ายและใช้งานไม่ทนทาน

วิธีการตัดดอกหญ้า
การตัดดอกหญ้านั้น เมื่อตัดแล้วต้องรีบนำออกผึ่งแดดที่จัดเป็นเวลา 2 วัน  หลังจากนั้นจึงนำดอก
หญ้าไปฟาดกับท่อนไม้หรือขอนไม้  เพื่อให้เกสรดอกหญ้าหลุดออกจากก้านช่อดอก   จากนั้นจึงนำมามัดเป็นฟ่อน ๆ เก็บไว้ใช้งานหรือออกจำหน่าย 

ขั้นตอนการใช้เครื่องขัดดอกหญ้า 
นำดอกหญ้าที่ตัดเตรียมไว้แล้วเข้าเครื่องขัดดอกหญ้า  โดยชุดขัดดอกหญ้า ซึ่งมียางยืดอยู่จะหมุน
ตามเข็มนาฬิกาจากนั้นการขัดดอกหญ้าออกพร้อมกับเครื่องดูดฝุ่นจะทำการดูดฝุ่นเกสรดอกหญ้าผ่านท่อระบายลงเก็บในถังเครื่องดูดฝุ่น

10.       วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ผลงานสิ่งประดิษฐ์
10.1          ช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับประชาชนผู้ประกอบอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้า
10.2          ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้แรงงานคนในการขัดดอกหญ้า

11.       คุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์
11.1      เครื่องขัดดอกหญ้ามีขนาดความกว้าง  70 ซม. ความยาว  90  ซม.  ความสูง 165 ซม.
11.2      ชุดส่งกำลังประกอบไปด้วยมอเตอร์ส่งกำลังด้วยสายพานจากมู่เล่ย์ตัวขับส่งกำลังไปยังมูเล่ย์ตัวตามผ่านชุดเฟืองทดในอัตราทดรอบ 4 : 1  ทำให้ความเร็วมอเตอร์ลดลง
11.3      ชุดเฟืองทดส่งกำลังจาก มูเล่ย์ตัวขับด้วยสายพานร่องลิ่มไปยัง มูเล่ย์ตัวตามของชุดขัดดอกหญ้า
11.4      ชุดขัดดอกหญ้ามีขนาดความโต Ø30 ซม.  ประกอบไปด้วยยางยืดที่ใช้ในการขัดดอกหญ้าจำนวน 8 เส้น รอบล้อชุดดอกหญ้า

12.       ขั้นตอนการทำงานของผลงานสิ่งประดิษฐ์
1.             เปิดสวิตช์เครื่องขัดดอกหญ้าและสวิตช์เครื่องดูดฝุ่น
2.             ชุดขัดดอกหญ้าจะหมุนตามนาฬิกาและเครื่องดูดฝุ่นจะทำงานพร้อมกัน
3.             นำดอกหญ้าที่เตรียมไว้ป้อนเข้าในช่องด้านหน้าของเครื่อง
4.             ชุดขัดดอกหญ้าจะมียางยืดที่ติดอยู่ทำหน้าที่ขัดดอกหญ้า  ทำให้เกสรของดอกหญ้าหลุดออก

13.       ประโยชน์และคุณค่าของผลงานสิ่งประดิษฐ์
1.             ทำให้ประชาชนผู้ประกอบอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้า  ได้ปฏิบัติงานได้รวดเร็วขึ้น
2.             ช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับประชาชนผู้ประกอบอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้า
3.             ทำให้นักศึกษามีความรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ


14.       วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
รายการ
จำนวน
ราคา
1. เหล็กแผ่น หนา 1.2 มม.
2. เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม
3. เครื่องดูดฝุ่น
4. สีน้ำมัน
5. สีรองพื้นกันสนิม
6. ตลับลูกปืน
7. ชุดเฟืองทด
8. ทินเนอร์
9. มูเลย์ขนาด 12
10. มูเลย์ขนาด 8”
11. มูเลย์ขนาด 6”
12. มอเตอร์
13. เหล็กเพลากลม
14. สายพานลิ่ม

2 แผ่น
4 เส้น
1 เครื่อง
1 แกลอน
1 แกลอน
2 ชุด
                      1 ชุด
1 ปิ๊บ
1 ตัว
2 ตัว
1 ตัว
1 ตัว
                     1 เมตร
2 เส้น
2,400
3,850
3,800
600
400
               500
               2,850
500
400
               500
200
3,000
700
300
รวม
20,000


15.งบประมาณที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
16.1       จำนวน  20,000  บาท
16.2       แหล่งงบประมาณที่ได้รับ   วิทยาลัยการอาชีพลอง